ระบบน้ำยาแอร์ทำงานยังไง
เพื่อน ๆ เคยสงสัยมั้ยครับ… ว่าแอร์ที่เราใช้กันทุกวัน มันทำงานยังไง
ระบบแอร์ หรือเครื่องปรับกาศ ที่เราใช้กันในทุกวันนี้ มีหลักการการทำงาน เหมือนกันทั้งหมดเลย นะครับซึ่งวันนี้ ผมจะมาอธิบายให้ฟัง
ทำไมต้องติอแอร์
คำตอบที่อ้างอิงหลักการของระบบแอร์ ก็ คือ เพื่อต้องการจัดการ กับความร้อน ภายในห้อง โดยการนำความร้อน ภายในห้องไปทิ้งนอกห้อง…

หลักการที่ใช้ในระบบแอร์
ซึ่งก่อนจะไปเริ่มอธิบาย หลักการทำงานของแอร์นั้น เพื่อนๆ ต้องเข้าใจหลักการทำงาน ของ 2 หลักการที่ใช้ในระบบแอร์กันก่อนนะครับ
- หลักการแลกเปลี่ยนความร้อน โดยหลักแล้ว การถ่ายโอนความร้อนมีโดยกัน สามา วิธี คือ การนำความร้อน การพาความร้อน และ การ แพร่ความร้อน แต่ในระบบแอร์ให้จำไว้ครับ ว่าจะใช้หลักการ พาความร้อน โดยใช้ สารทำความเย็น เป็นพา หะนะ ให้ความร้อน.
- คือ หลักความ สัมพันธ์ แรงดันและอุณหภูมิ จำตรงนี้ไว้เลยนะครับ อุณภูมิสูงขึ้น แรงดันสูงขึ้น และ อุณหภูมิลดลง แรงดันลดลง.

ส่วนประกอบสำคัญของระบบน้ำยาแอร์
มาดูที่ วงจร ของระบบแอร์ กันนะครับ ในระบบแอร์จะมีอุปกรณ์ ที่สำคัญอยู่ด้วยกัน 4 ชิ้น
- Evaporator – หรือ คอยล์เย็น ตัวมันเองจะถูกติดตั้ง ภายในห้อง เพื่อ เอาความร้อนที่อยู่ในห้อง เข้าไปอยู่ในนำยาแอร์.
- Compressor – หน้าที่ คือ เพิ่มแรงดัน ในระบบ เพื่อทำให้ น้ำยาแอร์ สามารถไหลเวียนในระบบได้
- Condenser หรือ คอยล์ร้อน มีหน้าที่ ระบายความร้อนจากน้ำยาแอร์
- Expansion valve หรือ Cap tube – ทำหน้าที่ ลดแรงดัน น้ำยาแอร์
หลักการทำงานของ

- เริ่มต้นที่ Evaporator – หรือ คอยล์เย็น ตัวมันเองจะถูกติดตั้ง ภายในห้อง เพื่อ เอาความร้อนที่อยู่ในห้อง เข้าไปอยู่ในนำยาแอร์.
- ต่อมาที่ Compressor – หน้าที่ คือ เพิ่มแรงดัน ในระบบ เพื่อทำให้ น้ำยาแอร์ สามารถไหลเวียนในระบบได้ ซึ่งกระบวนการนี้ จะไป ตรงกับเรื่อง ความ สัมพันธ์ของ แรงดันและอุณหภูมิ เพราะหลังจาก Compressor อัด น้ำยาแอร์ จะทำให้ แรงดันน้ำยาสูงขึ้น และอุณหภูมิ สูงขึ้นตาม – อย่าพึ่งลืมนะครับว่าความร้อนภายในห้องที่โดนเอาเข้ามาในนำยาแอร์ ยังคงอยู่
- และจากนั้น น้ำยาแอร์ จะผ่านมาที่ Condenser หรือ คอยล์ร้อน มีหน้าที่ ระบายความร้อนจากน้ำยาแอร์ ออก และน้ำยาแอร์จะเปลี่ยน สถานจาก แก๊สร้อน กลายเป็น ของเหลวร้อน เพราะ มีอุณหภูมิที่ ลดลง ตามกฎ ความ สัมพันธ์ แรงดันและอุณหภูมิ
- Expansion valve หรือ Cap tube – ทำหน้าที่ ลดแรงดัน น้ำยาแอร์ ในระบบ ซึ่งเมื่อ น้ำยาแอร์ไหลผ่าน ตัวมัน จะทำให้ น้ำยาแอร์ แรงดันลดลง และทำให้ อุณหภูมิ ลดลง – สถานน้ำยาแอร์ หลังการผ่าน ตัว Cap tube มาจะหลายเป็น ของเหลว เย็น
- หลังจากนั้น ตัวน้ำยาแอร์ จะกลับมาไหลผ่าน ตัว Evaporator หรือ คอยล์เย็น เพื่อทำการพาความร้านในห้องออก ซึ่ง จะทำให้ น้ำยาแอร์ นั้น อุณภูมิสูงขึ้น จนกลายเป็น Gas และ ไหล ผ่าน Compressor ต่อไป
ซึ่งหลักการ ทำงาน จะทำการวนลูป อยู่อย่างนี้ ไป ตลอด
จบไปแล้วครับสำหรับหลักการทำงาน ของแอร์ หากใคร ต้องการรู้เรื่อง อะไร ในระบบแอร์ อีก ก็สามารถ ตอบในคอมเม้นถามกันมาได้ นะครับ